กรมควบคุมโรคแนะวิธีปฏิบัติตัว คนติดโควิด – 19 อยากกลับภูมิลำเนาไปรักษาตัวที่บ้านเกิดต้องทำ
จากสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำให้เตียงในการรองรับการรักษาไม่เพียงพอ ทำให้สาธารณสุขหลายจังหวัดเริ่มออกมาประกาศพร้อมรับผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 ให้กลับไปรับการรักษาที่ภูมิลำเนาหรือที่บ้านเกิดได้
และจากข้อมูลล่าสุดพบว่าในขณะนี้มี 25 จังหวัดที่พร้อมรับประชาชนติดโควิดกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนา ประกอบด้วย
หลายจังหวัด ประกาศรับผู้ป่วยโควิด กลับมารักษาตัวที่บ้านเกิดได้
สธ. กำชับทุกจังหวัดเตรียมแผนรับมือ แรงงานกทม.-ปริมณฑล กลับภูมิลำเนา
พื้นที่ภาคเหนือมี 10 จังหวัด ประกอบด้วย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง แพร่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำพูน
พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 14 จังหวัด ประกอบด้วย สุรินทร์ มหาสารคาม อุบลราชธานี หนองคาย ศรีสะเกษ อุดรธานี ยโสธร นครราชสีมา สกลนคร เลย กาฬสินธุ์ นครพนม ขอนแก่น และ ชัยภูมิ
พื้นที่ภาคกลาง มี 1 จังหวัด คือ เพชบูรณ์
ขณะเดียวกันกรมควบคุมโรค ได้มีการแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ติดโควิด 19 ที่ต้องการกลับภูมิลำไว้ดังนี้
การเตรียมความพร้อมก่อนเดินทาง
- โทรประสานศูนย์รับคนกลับบ้านของจังหวัด หรือ สำนักงานสาธารณสุข
- เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวเท่านั้น ผู้ขัรถหากไม่เคยติดเชื้อจะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- เตรียมหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ให้เพียงพอ รวมทั้งถุงในขยะส่วนตัว
- เตรียมยาให้พร้อมทั้งยาบรรเทาอาการป่วยโควิด 19 และยารักษาโรคประจำตัว
- จัดเตรียมอาหารและน้ำให้เพียงพอตลอดกาเรดินทางไม่ควรแวะสถานที่อื่นระหว่าทาง
- เตรียมหมายเลขโทรศัพท์หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือกรณีเกิดการเจ็บป่วย หรือมีเหตุฉุกเฉิดขณะเดินทาง
- เตรียมผลตรวจโควิด 19
การปฏิบัตตนระหว่างเดินทาง
- สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ตลอดการเดินทาง
- หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
- ล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ ทั้งก่อน – หลัง รับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ หรือหลังจากไอจาม
- ห้ามแวะพักระหว่างการเดินทาง ให้ตรงไปยังโรงพยาบาล หรือสถานที่ที่ได้รับแจ้งไว้เท่านั้น
- หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำสาธารณะ ต้องล้างมือก่อนใช้ห้องน้ำและหลังใช้ห้องน้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าเชื้อโรคที่มือไม่เปื้อนพื้นผิวของห้องน้ำ
เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง
- ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่ได้รับประสาน เพื่อรับการรักษาหรือแยกกัก
- ปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ดูแลโรงพยาบาลหรือสถานที่แยกกักอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ผู้ป่วยไม่มีรถส่วนตัวสำหรับเดินทางกลับสามารถติดต่อ โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เพื่อให้ที่ดำเนินการจัดให้มีรถพยาบาลหรือพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วยมารักษาต่อ โดย สามารถขอรับค่าใช้จ่ายมายัง สปสช.ได้ดังนี้
1.ค่าพาหนะรับส่งต่อผู้ป่วย อัตราจ่ายเป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของสำนักงาน โดยกรณีใช้รถยนต์ จ่ายชดเชยตามระยะทางกรมทางหลวงไป – กลับ โดยจ่ายชดเชยที่คำนวณได้แต่ไม่เกินที่เรียกเก็บ ดังนี้
1.1 ระยะทางไปกลับ ไม่เกิน 50 กิโลเมตร จ่ายชดเชยตามจริงไม่เกิน 500 บาท
1.2 ระยะทางไปกลับ มากกว่า 50 กิโลเมตร จ่ายชดเชยเริ่มต้น 500 บาท และจ่ายชดเชยเพิ่มกิโลเมตรละ 4 บาท
2.ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อพาหนะ จ่ายตามจริงไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้งที่มีการรับส่งต่อผู้ป่วย