แฟ้มภาพ
18 ก.ค. 64 – เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19)ที่ ๑๐/๒๕๖๔เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘
ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ ๑๒ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นั้น
- ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ข้อกำหนด ยกระดับความเข้มข้นต้านโควิด 19
เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ ๔/๒๕๖๓ เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิด – 19 โดยคำแนะนำของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนำ 2019 กระทรวงมหาดไทย
จึงมีคำสั่งให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและพนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไป ตามมาตรการตามข้อกำหนดฯ สำหรับเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่งนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น
สั่ง ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19
บัญชีรายชื่อจังหวัดที่กำหนดระดับของพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการแนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19)ที่ ๑๐/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
———————–
พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งสิ้น ๑๓ จังหวัด
๑. กรุงเทพมหานคร
๒. จังหวัดฉะเชิงเทรา
๓. จังหวัดชลบุรี
๔. จังหวัดนครปฐม
๕. จังหวัดนนทบุรี
๖. จังหวัดนราธิวาส
๗. จังหวัดปทุมธานี
๘. จังหวัดปัตตานี
๙. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๐. จังหวัดยะลา
๑๑. จังหวัดสงขลา
๑๒. จังหวัดสมุทรปราการ
๑๓. จังหวัดสมุทรสาคร
พื้นที่ควบคุมสูงสุด รวมทั้งสิ้น ๕๓ จังหวัด
๑. จังหวัดกระบี่
๒. จังหวัดกาญจนบุรี
๓. จังหวัดกาฬสินธุ์
๔. จังหวัดก าแพงเพชร
๕. จังหวัดขอนแก่น
๖. จังหวัดจันทบุรี
๗. จังหวัดชัยนาท
๘. จังหวัดชัยภูมิ
๙. จังหวัดเชียงราย
๑๐. จังหวัดเชียงใหม่
๑๑. จังหวัดตรัง
๑๒. จังหวัดตราด
๑๓. จังหวัดตาก
๑๔. จังหวัดนครนายก
๑๕. จังหวัดนครราชสีมา
๑๖. จังหวัดนครศรีธรรมราช
๑๗. จังหวัดนครสวรรค์
๑๘. จังหวัดบุรีรัมย์
๑๙. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
๒๐. จังหวัดปราจีนบุรี
๒๑. จังหวัดพัทลุง
๒๒. จังหวัดพิจิตร
๒๓. จังหวัดพิษณุโลก
๒๔. จังหวัดเพชรบุรี
๒๕. จังหวัดเพชรบูรณ์
๒๖. จังหวัดมหาสารคาม
๒๗. จังหวัดยโสธร
๒๘. จังหวัดร้อยเอ็ด
๒๙. จังหวัดระนอง
๓๐. จังหวัดระยอง
๓๑. จังหวัดราชบุรี
๓๒. จังหวัดลพบุรี
๓๓. จังหวัดลำปาง
๓๔. จังหวัดลำพูน
๓๕. จังหวัดเลย
๓๖. จังหวัดศรีสะเกษ
๓๗. จังหวัดสกลนคร
๓๘. จังหวัดสตูล
๓๙. จังหวัดสมุทรสงคราม
๔๐. จังหวัดสระแก้ว
๔๑. จังหวัดสระบุรี
๔๒. จังหวัดสิงห์บุรี
๔๓. จังหวัดสุโขทัย
๔๔. จังหวัดสุพรรณบุรี
๔๕. จังหวัดสุรินทร์
๔๖. จังหวัดหนองคาย
๔๗. จังหวัดหนองบัวล าภู
๔๘. จังหวัดอ่างทอง
๔๙. จังหวัดอุดรธานี
๕๐. จังหวัดอุทัยธานี
๕๑. จังหวัดอุตรดิตถ์
๕๒. จังหวัดอุบลราชธานี
๕๓. จังหวัดอ านาจเจริญ
พื้นที่ควบคุม รวมทั้งสิ้น ๑๐ จังหวัด
๑. จังหวัดชุมพร
๒. จังหวัดนครพนม
๓. จังหวัดน่าน
๔. จังหวัดบึงกาฬ
๕. จังหวัดพังงา
๖. จังหวัดแพร่
๗. จังหวัดพะเยา
๘. จังหวัดมุกดาหาร
๙. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
๑๐. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่เฝ้าระวังสูง รวมทั้งสิ้น ๑ จังหวัด
๑. จังหวัดภูเก็ต