ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 กระทรวงมหาดไทย ประกาศรายชื่อ 77 จังหวัด ไม่สวมหน้ากากอนามัยออกจากบ้านโดนปรับสูงสุด 20,000 บาท หากไม่มีเงินเสียค่าปรับ เจ้าหน้าที่ต้องทำสำนวนคดีส่งฟ้องศาล
ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 กระทรวงมหาดไทย หรือ ศบค.มท. ได้รวบรวมจังหวัดที่มีคำสั่งกำหนดมาตรการให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถาน หากฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับเป็นเงินจำนวน 20,000 บาท ล่าสุด จำนวนรวม 77 จังหวัดทั่วประเทศ (ข้อมูล วันที่ 29 เม.ย.เวลา 16.30 น.) ดังนี้
ภาคกลางและภาคตะวันออก 25 จังหวัด และกทม. ได้แก่
- กาญจนบุรี (เฉพาะตลาด ตลาดนัด ตลาดน้ำ)
- ปราจีนบุรี
- เพชรบุรี
- สุพรรณบุรี
- พระนครศรีอยุธยา
- สมุทรสาคร
- ลพบุรี
- สมุทรปราการ
- ประจวบคีรีขันธ์
- ชลบุรี
- สระบุรี
- ตราด
- นนทบุรี
- นครปฐม
- จันทบุรี
- กทม.
- ปทุมธานี
- ฉะเชิงเทรา
- อ่างทอง
- สระแก้ว
- นครนายก
- สิงห์บุรี
- ราชบุรี
- ชัยนาท
- ระยอง
ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่
- สุโขทัย
- ตาก
- เพชรบูรณ์
- อุตรดิตถ์
- ลำพูน
- พิษณุโลก
- เชียงใหม่
- นครสวรรค์
- แพร่
- ลำปาง
- อุทัยธานี
- พิจิตร
- เชียงราย
- น่าน
- กำแพงเพชร
- แม่ฮ่องสอน
- พะเยา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้แก่
- ยโสธร
- หนองคาย
- อุบลราชธานี
- ชัยภูมิ
- มหาสารคาม
- มุกดาหาร
- ศรีสะเกษ
- สุรินทร์
- อุดรธานี
- เลย
- อำนาจเจริญ
- บุรีรัมย์
- นครพนม
- ขอนแก่น
- กาฬสินธุ์
- นครราชสีมา
- บึงกาฬ
- หนองบัวลำภู
- ร้อยเอ็ด
- สกลนคร
ภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่
- สุราษฎร์ธานี
- ตรัง
- นครศรีธรรมราช
- นราธิวาส
- ปัตตานี
- พังงา
- ภูเก็ต
- ระนอง
- สตูล
- สงขลา
- ยะลา
- กระบี่
- พัทลุง
- ชุมพร
สำหรับการเปรียบเทียบปรับ สำหรับผู้ที่ไม่ให้หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้านั้น พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก ตร.) กล่าวถึงการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเมื่อออกนอกเคหสถาน โดยยืนยันว่า การปรับครั้งแรกต้องปรับขั้นต่ำ 6,000 บาท ความผิดครั้งที่ 2 ค่าปรับอยู่ที่ 12,000 บาท และความผิดครั้งที่ 3 สูงสุดเป็นเงิน 20,000 บาท
แต่ทั้งนี้ กฎหมายมีหลักเกณฑ์ลดค่าปรับได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นตามสภาพของบุคคล ผู้ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ผู้ที่มีสภาพสังคมเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเสียค่าปรับ เป็นต้น ซึ่งพนักงานสอบสวนสามารถพิจารณาให้น้อยกว่าที่กำหนดได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 คือต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2,000 บาท
ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของกฏหมาย หากผู้ถูกกระทำผิดไม่ยินยอมให้ปรับขั้นต่ำเป็นเงิน 6,000 บาท หรือไม่สามารถนำค่าปรับมาเสียตามที่เปรียบเทียบได้แล้ว พนักงานสอบสวนต้องทำสำนวนคดีส่งฟ้องศาล เพื่อให้ศาลใช้ดุลยพินิจพิจารณาต่อไป
ด้านนายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมทั่วประเทศ กรณีไม่สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือสถานที่พำนักอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของจังหวัดต่าง ๆ ว่า สำหรับการลงโทษที่มีข้อแตกต่างกันนั้น เนื่องจากผู้พิพากษาสามารถใช้ดุลพินิจ พิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดีของแต่ละคดีซึ่งอาจมีรายละเอียด และความหนักเบาแห่งการกระทำความผิดที่แตกต่างกัน การลงโทษจึงเป็นไปได้ที่จะไม่เท่ากัน
ส่วนบัญชีอัตราเปรียบเทียบแนบท้ายระเบียบ ฯ นั้น ใช้สำหรับผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ ซึ่งตามคำสั่งกรมควบคุมโรครวมถึงพนักงานสอบสวนด้วย บัญชีนี้ไม่ผูกพันให้ศาลต้องใช้ตามเกณฑ์ที่กำหนดว่าครั้งแรกต้องปรับ 6,000 บาท ศาลจึงยังคงมีอำนาจในการใช้ดุลพินิจลงโทษได้ไม่เกิน 20,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว อาจเกินกว่าหรือต่ำกว่า 6,000 บาท ก็ได้
อีกทั้งการชำระค่าปรับตามที่ถูกเปรียบเทียบปรับเป็นผลทำให้คดีอาญาเลิกกัน สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไป ไม่ต้องมาฟ้องคดีที่ศาลอีก หากไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับคดีอาญาก็ยังไม่ระงับ เจ้าพนักงานก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- อัพเดทล่าสุด! รายชื่อ 73 จังหวัดบังคับ ‘ใส่หน้ากากอนามัย – หน้ากากผ้า’
- เอาจริง!! ตำรวจจับปชช.ไม่ใส่หน้ากากแล้ว 13 รายปรับ 1,000-6,000 บาท
- เพิ่มเป็น 63 จังหวัด! บังคับสวมหน้ากากนอกบ้าน ‘ศาล’ ปรับแล้ว 9 ราย